การจัดกิจกรรม

การจัดกิจกรรมแนะแนว 
      เป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมและพัฒนาผู้เรียนให้รู้จักตนเอง รู้รักษ์สิ่งแวดล้อม สามารถคิดตัดสินใจ คิดแก้ปัญหา กำหนดเป้าหมาย วางแผนชีวิตทั้งด้านการเรียนและอาชีพ สามารถปรับตน ได้อย่างเหมาะสม นอกจากนี้ยังช่วยให้ครูรู้จักและเข้าใจผู้เรียน ทั้งยังเป็นกิจกรรมที่ช่วยเหลือ และให้คำปรึกษาแก่ผู้ปกครองในการมีส่วนร่วมพัฒนาผู้เรียน
      สถานศึกษาต้องบริหารจัดการให้บุคลากรที่เกี่ยวข้อง มีหน้าที่และมีส่วนร่วมในการพัฒนาผู้เรียน  ให้บรรลุตามจุดหมายของหลักสูตร และมาตรฐานการแนะแนวด้านผู้เรียน  โดยจัดเวลาให้เป็นไปตามสัดส่วนของการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนในแต่ละช่วงชั้น  รวมทั้งจัดบริการและกิจกรรมนอกห้องเรียนให้ครอบคลุมทั้ง 5 งาน  และมีกิจกรรมอย่างน้อย 9 กิจกรรม ตามแนวการจัดกิจกรรมแนะแนว ดังนี้
การจัดกิจกรรมแนะแนว มีภาระงาน 2 ลักษณะคือ
1.      การจัดบริการแนะแนว
2.      การจัดกิจกรรมในและนอกห้องเรียน


มาตรฐานกิจกรรมแนะแนว
      มาตรฐานที่  1   รู้จัก เข้าใจ และเห็นคุณค่าในตนเองและผู้อื่น หมายถึง มีความสามารถในการรู้จัก และ  เข้าใจ ตนเอง  ทั้งในด้านความถนัด ความสนใจ  ความสามารถ จุดเด่น จุดด้อย นิสัย อารมณ์  ความภูมิใจ และเห็นคุณค่าในตนเองและผู้อื่น
      มาตรฐานที่  มีความสามารถในการแสวงหาและใช้ข้อมูลสารสนเทศ หมายถึง  มีทักษะ และวิธีการในการแสวงหาข้อมูลจากแหล่งต่าง ๆ  รวบรวม และจัดระเบียบข้อมูล สามารถจัดระบบกลั่นกรอง เลือกใช้ข้อมูลอย่างฉลาด  เหมาะสม และเห็นคุณค่าในการใช้ข้อมูลสารสนเทศ
      มาตรฐานที่ มีความสามารถในการตัดสินใจและแก้ปัญหาได้อย่างเหมาะสม หมายถึง สามารถกำหนดเป้าหมาย วางแผน วิเคราะห์ สังเคราะห์ และประเมินผล ตลอดจนปรับปรุงแผนการดำเนินงานโดยใช้ข้อมูล คุณธรรม และจริยธรรมเป็นพื้นฐานในการตัดสินใจ
      มาตรฐานที่  มีความสามารถในการปรับตัวและการดำรงชีวิตอย่างมีความสุข  หมายถึง การเข้าใจ ยอมรับตนเองและผู้อื่น มีวุฒิภาวะทางอารมณ์  แสดงออกอย่างเหมาะสม  มีมนุษยสัมพันธ์ สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่น และดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข





แนวทางการจัดกิจกรรม
  1. ศึกษาวิเคราะห์สภาพปัญหา ความต้องการ ความสนใจ ธรรมชาติของผู้เรียน
  2.  วิเคราะห์สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน คุณลักษณะที่พึงประสงค์ วิสัยทัศน์ของสถานศึกษา และวิเคราะห์ข้อมูลของผู้เรียนเป็นรายบุคคล
  3. กำหนดสัดส่วนของกิจกรรมแนะแนวให้ครอบคลุมด้านการศึกษา ด้านอาชีพด้านส่วนตัวและสังคม โดยยึดสภาพปัญหา ความต้องการ ความสนใจ ตลอดจนธรรมชาติของผู้เรียนและเป้าหมายของสถานศึกษา โดยครู ผู้ปกครอง และผู้เรียนมีส่วนร่วม
  4. กำหนดวัตถุประสงค์การจัดกิจกรรมแนะแนวของสถานศึกษา เป็นระดับการศึกษาและชั้นปี
  5. ออกแบบการจัดกิจกรรมแนะแนว ประกอบด้วย วัตถุประสงค์ การจัดกิจกรรมเวลาจัดกิจกรรม หลักฐานการทำกิจกรรม และการประเมินผล
  6. จัดทำแผนการจัดกิจกรรมแนะแนวรายชั่วโมง ประกอบด้วย ชื่อกิจกรรม จุดประสงค์เวลา เนื้อหา/สาระ วิธีดำเนินกิจกรรม สื่อ/อุปกรณ์ และการประเมินผล
  7. จัดกิจกรรมแนะแนวตามแผนการจัดกิจกรรมแนะแนวและประเมินผลการจัดกิจกรรม
  8. ประเมินเพื่อตัดสินผล และสรุปรายงาน
โรงเรียนที่จัดบริการแนะแนว จะต้องมีการจัดหรือบริหารงานแนะแนวที่เป็นระบบ คือ
  1. การจัดอบรมผู้บริหาร ให้มีความรู้ความเข้าใจในลักษณะ และกระบวนการแนะแนว รู้กลวิธีในการบรหารงาน เพราะงานแนะแนวจะพัฒนาไปในทิศทางที่ถูกต้อง และมีประสิทธิภาพ ถ้าได้รับการส่งเสริมสนับสนุนจากผู้บริหาร
  2. การตั้งคณะกรรมการแนะแนว โดยมีผู้บริหารโรงเรียน หรือผู้ช่วยผู้บริหารเป็นประธานและครูแนะแนวเป็นเลขานุการ ร่วมกันจัดบริการแนะแนวโดยอาจจะรับผิดชอบงานแนะแนวแต่ละด้าน เช่น การให้บริการรวบรวมข้อมูล บริการสนเทศ การจัดวางตัวบุคคล เป็นต้น
  3. การจัดสิ่งอำนวนความสะดวก ผู้บริหารจะต้องจัดสิ่งอำนวนความสะดวกให้กับครูแนะแนวคือ ห้องแนะแนว งบประมาณที่จะไว้จัดหาสิ่งจำเป็นต่างๆ เช่น สื่อ อุปกรณ์ คู่มือต่างๆ ฯลฯ
  4. การจัดศูนย์สนเทศ โรงเรียนควรจัดเอกสาร และป้ายประกาศสำหรับติดต่อข้อมูลทุกด้านไว้ในศูนย์สนเทศ เพื่อให้นักเรียนไปอ่านด้วยตนเอง และนำไปใช้ประโยชน์
  5. การจัดทำแผนงานแนะแนวตลอดปี โดยจัดประชุมและจัดตั้งกรรมการทำงานทำปฏิทินปฏิบัติงานแนะแนว ติดตามผล
กิจกรรมแนะแนวอาชีพที่ควรให้มีในสถานศึกษา โดยทั่วๆไปสามารถนำไปปฏิบัติได้ มีดังนี้คือ
  1. ชี้แจงให้เห็นคุณค่าของวิชาที่เรียน รวมทั้งชี้แจงให้เห็นว่าวิชาต่างๆเหล่านั้นทั้งวิชาบังคับและวิชาเลือกมีความสัมพันธ์กับอาชีพต่างๆอย่างไรบ้าง ทั้งนี้เพื่อให้เด็กเรียนวิชาต่างๆ อย่างมีความหมาย เมื่อคิดว่าวิชาเหล่านั้นมีประโยชย์อย่างไรในการประกอบอาชีพในอนาคต
  2. จัดอภิปรายกลุ่มเกี่ยวกับอาชีพต่างๆ ภายในห้องเรียนหรือในชั่วโมงโฮมรูมโดยพยายามเลือสรรอาชีพต่างๆ ที่เห็นว่ามีส่วนสัมพันธ์กับวิชาเรียน หรือหัวข้อที่ดึงดูดความสนใจเด็ก เช่น อิทธิพลของสิ่งประดิษฐ์ต่อชีวิตของเรา การใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ โลกของงานในชุมชน การเตรียมตัวเลือกอาชีพ เป็นต้น
  3. ใช้แบบสำรวจตรวจสอบความสนใจ และความถนัดในอาชีพต่างๆ โดยอาจเลือกอาชีพที่สำคัญๆให้เด็กเลือกตอบ หรืออาจใช้แบบตรวจสอบความสนใจในอาชีพ หรือแบบทดสอบความถนัดของการวิจัยทางการศึกษา กรมวิชาการ หรือของการจัดหางาน กรมแรงงานก็ได้ เมื่อทราบความสนใจดังกล่าวแล้วอาจแบ่งนักเรียนเป็นกลุ่มย่อยๆตามความสนใจแล้วติดต่อเชิญวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิ หรือผู้มีประสบการณ์มาบรรยายให้นักเรียนแต่ละกลุ่มฟัง
  4. ส่งเสริมให้มีการจัดชุมนุมอาชีพต่างๆ ความสนใจและความถนัด เช่น ชุมนุมศิลปศึกษา ชุมนุมเกษตรกร ชุมนุมคหกรรม ชุมนุมธุรกิจ ชุมนุมถ่ายรูป ชุมนุมดนตรี ชุมนุมศิลปการละคร เป็นต้น
  5. แทรกบทความเกี่ยวกับอาชีพในหนังสือพิมพ์ของโรงเรียน เช่น อาจจะเป็นบทความเกี่ยวกับชีวประวัติของผู้ที่มีประสบความสำเร็จในอาชีพต่างๆ บทความเกี่ยวกับการสัมภาษณ์ศิษย์เก่าที่ประสบความสำเร็จในการงาน เป็นต้น
  6. จัดนิทรรศการอาชีพต่างๆในห้องสมุด อาจจัดเป็นมุมอาชีพตามที่เด็กสนใจอาจมีภาพแผนผัง โปสเตอร์ประกอบ โดยอาศัยความร่วมมือจากบรรณารักษ์ และนักเรียนที่มีความสนใจในอาชีพนั้นๆ
  7. จัดฉายภาพยนตร์ ภาพนิ่ง ฟิล์มสตริป หรือวีดีโอเทปเกี่ยวกับอาชีพให้นักเรียนได้มีโอกาสชมเป็นครั้งคราว โดยการติดต่อกับหน่วยงานต่างๆที่มีสิ่งเหล่านี้ เช่น กระทรวงอุตสาหกรรม กรมแรงแงน สำนักข่าวสารของประเทศต่างๆเป็นต้น
  8. จัดทัศนศึกษา พานักเรียนไปชมโรงงานอุตสหกรรม ร้านสรรพสินค้าใหญ่หรือโรงแรมใหญ่ๆในการจัดทัศนศึกษานอกสถานที่ดังกล่าวนี้ควรมีการวางแผนล่วงหน้า เช่น ให้นักเรียนเตรียมตั้งคำถามไว้ล่วงหน้า หรือเชิญวิทยากรมาบรรยายให้ฟังก่อน และเมื่อกลับมาจากทัศนศึกษาแล้วก็ควรให้นักเรียนทำรายงาน หรือวิพากษ์ วิจารณ์ ตามความคิดเห็นของตน

ปฏิทินปฏิบัติงานแนะแนวคือการจัดวางกิจกรรมที่จะจัดตามระยะเลวาต่างๆตลอดปี อาจแบ่งกิจกรรมเป็น 2 ประเภท คือ กิจกรรมในระยะเริ่มต้นของปีการศึกษา และกิจกรรมตลอดปีการศึกษา ระบบการจัดครูที่เป็นประโยชน์ต่องานแนะแนว เนื่องจากหลักสูตรมัธยมศึกษาตอนต้น พุทธศักราช 2521 ได้เปลี่ยนแปลงการเรียนการสอนไปจากหลักสูตรเดิม จึงได้เกิดระบบครูขึ้น 3 แบบดังนี้
  1. ระบบครูประจำชั้น ครูประจำชั้นต้องเป็นผู้ใกล้ชิดนักเรียนมากที่สุด แต่เนื่องจากครูประจำชั้นต้องสอนเป็นรายวิชา เช่นเดียวกับครูคนอื่นๆ และจำนวนนักเรียนก็มาถึง 30 -50 คน จึงทำไม่ได้ ปัจจุบันมีหลายโรงเรียนที่ต้องจัดให้มีครูประจำชั้น 2 คน ช่วยกันทำงาน
  2. ระบบครูที่ปรึกษา โรงเรียนจะตั้งครูที่ปรึกษาขึ้นมาเพื่อแก้ไขการที่ครูประจำชั้นไม่ได้ใกล้ชิดนักเรียน โดยจัดให้ครูที่ปรึกษารับผิดชอบนักเรียนเพียง 20-25 คน กำหนดหน้าที่ดูแลเอาใจใส่นักเรียนแต่ละคนเหล่านั้นทุกด้าน จึงเป็นการทำงานครูที่ดีขึ้นคือ สามารถช่วยทั้งการแก้ไขปัญหาของเด็ก และช่วยป้องกันปัญหาที่เกิดขึ้นด้วย
  3. ระบบครูโฮมรูม ครูโฮมรูมทำหน้าที่คล้ายกับครูประจำชั้นและครูที่ปรึกษา คือดูแลนักเรียนในความรับผิดชอบของตนอย่างใกล้ชิด จัดกิจกรรมร่วมกับนักเรียนเพื่อพัฒนานักเรียนทุกด้าน ให้ข้อมูลที่นักเรียนต้องการทราบ และเป็นที่ปรึกษาของนักเรียน